รายละเอียดหลักสูตร
(1) คำอธิบายหลักสูตร
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Non degree) เป็นหลักสูตรที่ได้มาตรฐานวิชาชีพ
เพื่อการสร้างอาชีพ และพัฒนาทักษะการทำงานในสถานประกอบการดูแลผู้สูงอายุภายหลังจากสำเร็จการอบรม อันจะเป็นการช่วยเยียวยาและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID–19)
(2) มหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
(3) ทักษะที่ได้รับ
ผู้อบรมมีความรู้ เจตคติ และทักษะในการดูแล ช่วยเหลือผู้สูงอายุตามเกณฑ์มาตรฐานอาชีพ
(4) เนื้อหาหลักสูตร
เนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วยรายวิชา 5 หมวด ดังนี้
1) การศึกษาทั่วไป (ทฤษฏี 16 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 8 ชั่วโมง)
1.1) การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ (ทฤษฏี 8 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
1.2) การใช้ภาษาอังกฤษเบื้องต้นในการสื่อสาร สำหรับการดูแลผู้สูงอายุได้แก่ ศัพท์เทคนิค ศัพท์ทางการแพทย์เบื้องต้น (ทฤษฏี 8 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
2) ผู้ดูแล (ทฤษฏี 24 ชั่วโมง)
2.1) การดูแลผู้สูงอายุด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ (4 ชั่วโมง)
2.2) ทักษะการดูแลตนเองของผู้ดูแล การจัดการความเครียดของผู้ดูแล (8 ชั่วโมง)
2.3) บทบาท ขอบเขต หน้าที่ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (8 ชั่วโมง)
2.4) จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ (4 ชั่วโมง)
3) กฏหมายและจริยธรรม (ทฤษฏี 8 ชั่วโมง)
กฏหมายแรงงาน สิทธิ สวัสดิการ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ
4) ความรู้เฉพาะด้านการดูแลผู้สูงอายุ (ทฤษฏี 172 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 112 ชั่วโมง)
4.1) แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ สถานการณ์ผู้สูงอายุ โครงสร้างประชากรและผลกระทบ (2 ชั่วโมง)
4.2) การเปลี่ยนแปลงตามวัยในผู้สูงอายุ (3 ชั่วโมง)
4.3) การประเมินสภาพผู้สูงอายุขั้นพื้นฐาน (ทฤษฏี 3 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
4.4) การดูแลกิจวัตรประจำวันในผู้สูงอายุ
4.4.1) การรับประทานอาหาร และการให้อาหารทางสายยาง (ทฤษฏี 8 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 8 ชั่วโมง)
4.4.2) การทำความสะอาดร่างกาย (ทฤษฏี 8 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
4.4.3) การสวมใส่เสื้อผ้า (ทฤษฏี 4 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
4.4.4) การทำความสะอาดปากและฟัน (ทฤษฏี 8 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
4.4.5) การดูแลการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และการดูแล ผู้สูงอายุที่ใส่สายสวนปัสสาวะ (ทฤษฏี 10 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 6 ชั่วโมง)
4.4.6) การจัดท่าและการเคลื่อนย้ายร่างกาย (ทฤษฏี 12 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 8 ชั่วโมง)
4.5) การวัดสัญญาณชีพ (ทฤษฏี 8 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 8 ชั่วโมง)
4.6) การดูแลภาวะที่มีไข้ (ทฤษฏี 2 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
4.7) การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง (ทฤษฏี 4 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 2 ชั่วโมง)
4.8) การดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุขั้นพื้นฐาน (ทฤษฏี 6 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 2 ชั่วโมง)
4.9) การส่งเสริมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (ทฤษฏี 4 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
4.10) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้สูงอายุ (ทฤษฏี 4 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 4 ชั่วโมง)
4.11) การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ(ทฤษฏี 20 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 10 ชั่วโมง)
4.12) การดูแลทางเลือกโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Alternative care & Remedies) (ทฤษฏี 16 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 8 ชั่วโมง)
4.13) การดูแลการใช้ยาในผู้สูงอายุขั้นพื้นฐาน (ทฤษฏี 4 ชั่วโมง)
4.14) การดูแลในระยะสุดท้ายของชีวิต(ทฤษฏี 4 ชั่วโมง)
4.15) การปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (ทฤษฏี 4 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 10 ชั่วโมง)
4.16) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (ทฤษฏี 8ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 8 ชั่วโมง)
4.17) การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ในกลุ่มผู้สูงอายุ (ทฤษฏี 10 ชั่วโมง)
4.18) เทคโนโลยีสำหรับการดูแลและฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ (ทฤษฏี 16 ชั่วโมง/ปฏิบัติในห้องปฏิบัติการออนไลน์ 14 ชั่วโมง)
4.19 แหล่งประโยชน์ในการดูแลผู้สูงอายุ (ทฤษฏี 4 ชั่วโมง
5) การปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุขั้นพื้นฐาน (ฝึกปฏิบัติ 80 ชั่วโมง) *ฝึกทักษะการดูแลผู้สูงอายุเมื่อสถานการณ์ COVID-19 เป็นปกติ
(5) อาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา / สถานการณ์ความต้องการอาชีพนี้ในปัจจุบัน และอนาคต
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ
(6) ระยะเวลาของหลักสูตร
จำนวนชั่วโมงเรียนตลอดหลักสูตร 420 ชั่วโมง ประกอบด้วย รายวิชาทฤษฎี จำนวน 220 ชั่วโมง รายวิชาปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ จำนวน 120 ชั่วโมง และฝึกปฏิบัติประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 80 ชั่วโมง
(7) วันและเวลาในการเรียน
เริ่มการเรียนการสอน วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 กำหนดจัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 4-5 วัน เวลา 9.00 – 16.00 น. (อาจปรับตามความเหมาะสม)
(8) รูปแบบการเรียนการสอน
เรียนแบบผสม โดยเรียนเนื้อหาออนไลน์ และเรียนปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยหรือสถานที่อื่น (workshop)
ข้อมูลอาจารย์ผู้สอน / วิทยากร
- ณาจารย์สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
1.1 อาจารย์ ดร.อรพินท์ หลักแหลม
1.2 อาจารย์ ศศิธร กรุณา
1.3 อาจารย์ ดร.วะนิดา น้อยมนตรี
- พยาบาลวิชาชีพจาก โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี
2.1 พว.ดลินพร สนธิรักษ์
2.2 พว.อมรรัตน์ สัทธาธรรมรักษ์
2.3 พว.ธรรมรุจา อุดม
2.4 พว.จันทนงค์ อินทร์สุข
- คณาจารย์วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
3.1 อาจารย์ ดร.ปรัชญา แก้วแก่น
3.2 อาจารย์ ดร.พีร วงศ์อุปราช
3.3 อาจารย์ ดร.ยุทธนา จันทะขิน
3.4 อาจารย์ ดร.สิริกรานต์ จันทเปรมจิตต์
คุณสมบัติและการรับสมัคร
ผู้ว่างงาน แรงงานคืนถิ่น และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบวิกฤตการระบาดของไวรัส โคโรนา 2019 (COVID–19) โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. อายุ 18 ปีขึ้นไป
2. สามารถอ่านออก เขียนได้ ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสาร
3. สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ระบบสมาร์ทโฟน มีระบบอินเตอร์เน็ท เพื่อการเรียนออนไลน์ได้
4. มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีปัญหาสุขภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
คุณสมบัติให้ผู้สมัครแนบเอกสารเพิ่มเติม
- ประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุ (ถ้ามี ให้บรรยายโดยสังเขป )
- ใบรับรองวุฒิการศึกษา (ถ้ามี)
ผู้ประสานงาน
1. อาจารย์ศศิธร กรุณา
e-mail: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ: 09 0043 0997
2. คุณวาสนา ซิ้มเทียม
e-mail: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ: 038-102845